ตำนานอุรังคธาตุ
ตำนานอุรังคธาตุ หรือ ตำนานอุรังคนิทาน
เป็นแม่บทของวรรณกรรมตำนานพระธาตุและพระบาทในล้านช้างและแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฟากฝั่ง
เป็นการเดินทางของพระพุทธองค์เมื่อครั้งที่เสด็จยังชมพูทวีป
เพื่อมาประทับรอยพระบาทไว้หลายแห่งในดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง โดยมีพุทธพยากรณ์ว่าสั่งให้ พระมหากัสสป เถระอัครสาวก กับเจ้านครรัฐ 5
พระองค์ รวมกันสร้างพระธาตุ อัญเชิญอุรังคธาตุพระพุทธเจ้ามาบรรจุ
ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณ
อีกทั้งยังพบว่ามีการอ้างอิงในเรื่องราวของตำนานเรื่องนี้อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน
เช่น ตำนานพระธาตุพนม ตำนานพระธาตุพังพวน ตำนานพระธาตุภูเพ็ก
ตำนานพระธาตุนารายณ์เจงเวง ตำนานพระธาตุเชิงชุม ตำนานพระธาตุตุมไก่
ตำนานพระธาตุเขี้ยวฝาง ตำนานพระธาตุเรณูนคร ตำนานพระธาตุเขาหลวง
ตำนานพระธาตุขามแก่น ตำนานพระพุทธบาทบัวบก ตำนานพระพุทธบาทบัวบาน
ตำนานพระพุทธบาทคูภูเวียง ตำนานพระพุทธบาทภูควายเงิน ตำนานพระพุทธบาทเวินปลา ฯลฯ
ตำนานอุรังคธาตุ
ถือเป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องมาจากทางฝ่ายล้านนา
ซึ่งเป็นตำนานที่เล่าถึงการสรงสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในภาคอีสาน
เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21 จากความสัมพันธ์ทั้งทางประวัติศาสตร์
ศาสนา เครือญาติ ชาติพันธุ์ การเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ
ประการสำคัญคือการศาสนาในช่วงรัชสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ.2038 - 2068 ที่พุทธศาสนาถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองสูงสุด
จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา พ.ศ. 2091-2115 ซึ่งเป็นผู้ที่สืบสายเชื้อวงศ์จากทั้งระหว่างเมืองเชียงใหม่และหลวงพระบางในเวลานั้น
โดยได้เป็นบุคคลสำคัญที่นำพามาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักร
ที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ล้านนาและล้านช้าง
สรุปง่าย ๆ คือ ตำนานอุรังคธาตุ
บรรยายถึงการก่อสร้างพระธาตุโดยเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ
ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
แบ่งหน้าที่กับก่อสร้างและทางบริจาคทรัพย์สินสิ่งของเป็นพุทธบูชา
ได้ประโยชน์ในการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ
ในยุคนี้เป็นอย่างดีว่ามีเครื่องมือ เครื่องใช้ มีค่านิยมศิลปวัตถุประเภทใดบ้าง ตำนานอุรังคธาตุ
ให้ภาพความสัมพันธ์ของผู้นำจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 5 เมือง
ซึ่งสองเมืองฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็คือ เมืองหนองหานน้อย กับ เมืองหนองหานหลวง
เป็นพื้นที่บริเวณอุดรธานีและสกลนคร ส่วนอีกสามเมืองนั้นประกอบด้วย
เมืองแกวสิบสองจุไท ในดินแดนเวียดนาม เมืองศรีโคตรบูร หรือ มรุกขนคร
ในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และ เมืองอินทปัต ในดินแดนเขมร
โดยล้วนแสดงถึงการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เหนือดินแดนพุทธศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น