วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
ประวัติความเป็นมา
พระธาตุพนมประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุ พนม จังหวัดนครพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานานไม่น้อยกว่า ๒,๓๐๐ ปี ผู้ที่สร้าง คือ พระ มหากัสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นำพระอุรังคธาตุหรือกระดูกหน้าอก ของสมเด็จพระสัมมนาพุทธเจ้ามาเพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุผู้ที่ร่วมช่วยในการสร้างพระ ธาตุนี้คือ ท้ายพระยาเมืองต่าง ๆ พญานันทเสน เมืองศรีโคตรบูรณ์ (เมืองนครพนม เดิม) พญาจุลนีพรหมทัด พระยาอินทรปัตนคร และพญาดำแดง เมืองหนองหารน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จและบรรจุอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ ภายในเป็นจำนวนมาก
พระธาตุพนมประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุ พนม จังหวัดนครพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานานไม่น้อยกว่า ๒,๓๐๐ ปี ผู้ที่สร้าง คือ พระ มหากัสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นำพระอุรังคธาตุหรือกระดูกหน้าอก ของสมเด็จพระสัมมนาพุทธเจ้ามาเพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุผู้ที่ร่วมช่วยในการสร้างพระ ธาตุนี้คือ ท้ายพระยาเมืองต่าง ๆ พญานันทเสน เมืองศรีโคตรบูรณ์ (เมืองนครพนม เดิม) พญาจุลนีพรหมทัด พระยาอินทรปัตนคร และพญาดำแดง เมืองหนองหารน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จและบรรจุอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ ภายในเป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2485
ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น
"วรมหาวิหาร" ต่อมาในวันที่ 11 สิงหาคม 2518
เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์
เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม
และประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวัน ประชาชนทั้ง
ประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม
การก่อสร้างนี้เสร็จ สิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามาก
มายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม ปัจจุบันองค์พระธาตุ มีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร
เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม
ความสำคัญต่อชุมชน
พระธาตุพนมนี้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงประชาชนลาวด้วย ในฤดูเทศกาล เพ็ญเดือน ๓ ของทุกปี พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ มาสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม
พระธาตุพนมนี้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงประชาชนลาวด้วย ในฤดูเทศกาล เพ็ญเดือน ๓ ของทุกปี พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ มาสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม
วัดพระธาตุพนมเป็นวัดวรมหาวิหาร
พระอารามหลวง ถือเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ถึงคราวพระราชพิธีราชาภิเษกทุกรัชกาลมา
จะต้องนำน้ำจากสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ไปร่วมพิธีด้วยเพื่อประกอบพิธีมุรธาภิเษก
และเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือ ว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีเดิม
จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานต้นไม้ ทอง เงิน
น้ำอบและผ้าคลุมส่งไปนมัสการพระธาตุพนมทุกปี และเมื่อถึงเทศกาลเข้าปุ ริมพรรษา
ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชาทุกปีมา
งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี ถือเอาวันขึ้น
๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ของ ทุกปีเป็นวันแรกของงานไปสิ้นสุดเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓
ลักษณะสถาปัตยกรรม
รูปลักษณะพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ มีลวดลายสลักลงบนแผ่นอิฐสวย งามมาก มีซุ้มกั้นด้านและซุ้มซ้อนกันสามชั้น ลดหลั่นกันลงมา แล้วจึงถึงองค์พระสถูป เบื้องบนยอดพระธาตุหุ้มทองคำประดับพลอยสวยงามมาก สมเด็จพระกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงกล่าวถึงพระธาตุพนมไว้ใน นิทานโบราณคดีเรื่องแม่น้ำโขง ตอนหนึ่งว่า
รูปลักษณะพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ มีลวดลายสลักลงบนแผ่นอิฐสวย งามมาก มีซุ้มกั้นด้านและซุ้มซ้อนกันสามชั้น ลดหลั่นกันลงมา แล้วจึงถึงองค์พระสถูป เบื้องบนยอดพระธาตุหุ้มทองคำประดับพลอยสวยงามมาก สมเด็จพระกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงกล่าวถึงพระธาตุพนมไว้ใน นิทานโบราณคดีเรื่องแม่น้ำโขง ตอนหนึ่งว่า
“..พระเจดีย์ธาตุพนมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง
สร้างเป็นสถูปทางพระพุทธ ศาสนาจะสร้างตามลัทธิมหายานหรือหินยาน
ไม่มีที่สังเกตเหมือนอย่างที่พิมาย แต่ไม่ มีเค้าศาสนาพราหมณ์เจือปนอยู่เลย
บรรดาเจดีย์สถานในพระพุทธศาสนาซึ่งสร้าง ใน สมัยของเขมรที่พบในเมืองไทย
ที่สร้างสถูปเป็นประธานมีแต่พระธาตุพนมแห่งเดียว ทั้ง
รูปสันฐานลวดลายก็เป็นอย่างอื่นต่างจากแบบช่างขอม ชวนให้เห็นว่าจะสร้างสมัยขอม คือ
สร้างในสมัย เมื่อประเทศอันหนึ่งซึ่งเรียกในจดหมายจีนว่า “ฟูนัน”
คล้าย “พนม “ เป็นใหญ่อยู่ต่างหาก
รูปทรงพระเจดีย์ธาตุพนมเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนมณฑป มีซุ้มต้น สามซุ้มซ้อนกันเป็นสามชั้น
เล็กเป็นหลั่นกันขึ้นไป แล้วถึงองค์พระสถูปอยู่เบื้องบน มณฑปทั้ง ๓ ชั้น
ยอดสถูปหุ้มแผ่นทองคำ เช่นเดียวกับพระธาตุเมืองมหาธาตุเมือง นครศรีธรรมราช
ขนาดพระสถูปดูจะเท่า ๆ กัน...”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น