วัฒถุประสงค์ของบล็อกนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดลองสร้างบล็อกเกอร์ ของนิสิตเอกสังคมชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ

ตำนานอุรังคธาตุ


          ตำนานอุรังคธาตุ หรือ ตำนานอุรังคนิทาน เป็นแม่บทของวรรณกรรมตำนานพระธาตุและพระบาทในล้านช้างและแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฟากฝั่ง เป็นการเดินทางของพระพุทธองค์เมื่อครั้งที่เสด็จยังชมพูทวีป เพื่อมาประทับรอยพระบาทไว้หลายแห่งในดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง โดยมีพุทธพยากรณ์ว่าสั่งให้ พระมหากัสสป เถระอัครสาวก กับเจ้านครรัฐ 5 พระองค์ รวมกันสร้างพระธาตุ อัญเชิญอุรังคธาตุพระพุทธเจ้ามาบรรจุ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณ 
           อีกทั้งยังพบว่ามีการอ้างอิงในเรื่องราวของตำนานเรื่องนี้อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน เช่น ตำนานพระธาตุพนม ตำนานพระธาตุพังพวน ตำนานพระธาตุภูเพ็ก ตำนานพระธาตุนารายณ์เจงเวง ตำนานพระธาตุเชิงชุม ตำนานพระธาตุตุมไก่ ตำนานพระธาตุเขี้ยวฝาง  ตำนานพระธาตุเรณูนคร ตำนานพระธาตุเขาหลวง  ตำนานพระธาตุขามแก่น ตำนานพระพุทธบาทบัวบก ตำนานพระพุทธบาทบัวบาน ตำนานพระพุทธบาทคูภูเวียง ตำนานพระพุทธบาทภูควายเงิน ตำนานพระพุทธบาทเวินปลา ฯลฯ 
          ตำนานอุรังคธาตุ ถือเป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องมาจากทางฝ่ายล้านนา ซึ่งเป็นตำนานที่เล่าถึงการสรงสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในภาคอีสาน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21 จากความสัมพันธ์ทั้งทางประวัติศาสตร์ ศาสนา เครือญาติ ชาติพันธุ์ การเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ ประการสำคัญคือการศาสนาในช่วงรัชสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ.2038 - 2068 ที่พุทธศาสนาถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองสูงสุด จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา พ.ศ. 2091-2115 ซึ่งเป็นผู้ที่สืบสายเชื้อวงศ์จากทั้งระหว่างเมืองเชียงใหม่และหลวงพระบางในเวลานั้น โดยได้เป็นบุคคลสำคัญที่นำพามาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักร ที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ล้านนาและล้านช้าง
           สรุปง่าย ๆ คือ ตำนานอุรังคธาตุ บรรยายถึงการก่อสร้างพระธาตุโดยเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แบ่งหน้าที่กับก่อสร้างและทางบริจาคทรัพย์สินสิ่งของเป็นพุทธบูชา ได้ประโยชน์ในการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ในยุคนี้เป็นอย่างดีว่ามีเครื่องมือ เครื่องใช้ มีค่านิยมศิลปวัตถุประเภทใดบ้าง  ตำนานอุรังคธาตุ ให้ภาพความสัมพันธ์ของผู้นำจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 5 เมือง ซึ่งสองเมืองฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็คือ เมืองหนองหานน้อย กับ เมืองหนองหานหลวง เป็นพื้นที่บริเวณอุดรธานีและสกลนคร ส่วนอีกสามเมืองนั้นประกอบด้วย เมืองแกวสิบสองจุไท ในดินแดนเวียดนาม เมืองศรีโคตรบูร หรือ มรุกขนคร ในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และ เมืองอินทปัต ในดินแดนเขมร โดยล้วนแสดงถึงการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เหนือดินแดนพุทธศาสนา 

   


พระธาตุเชิงชุม

พระธาตุเชิงชุม


           วัดพระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ริมหนองหารในเขต เทศบาลสกลนคร มีพื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา อยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มี อาณาเขตดังนี้
 ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับหนองหารหลวงและบ้านเรือนชาวคุ้มทิศ ตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับ ถนนเจริญเมือง

 ประวัติความเป็นมา
          ตามอุรังค นิทาน กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรี อาริยเมตตรัย องค์ที่ 5 ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเห ตะนี้จึงถือกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุม จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาระ พระะ นางนารายณ์เจงเวง และเจ้าคำแดง อนุชาพระยา สิวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี จากบริเวณซ่งน้ำพุและท่านางอายฝั่งตรงข้าม หนองหาร เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระทำของ พญานาค
 อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐานแท่านบูชารูปเคารพ ตลอดยนศิลาจารึกตัว อักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งอยู่ ติดผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นใน) ซึ่งก่อเป็นพระธานุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณ วัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึกที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง 49 ซ.ม. ยาว 52 ซ.ม. เขียน เป็นตัวอักษรขอมโบราณ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำนวน หนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่โขลญพล หัว หน้าหมู่บ้าน พระนุรพิเนาตามคำแนะนำ ของกำแสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะ นุรนิเนามอบให้โบลูญพลนี้มี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้น กับหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา นอกจาก เรื่องการมอบที่ดินแล้ว ข้อความตอนท้ายของ จารึกได้กล่าวถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้ อุทิศตน สิ่งของที่นา แด่เทวสถานและสงกรานต์ 

  ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุเชิงชุม
          วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร มีโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญ ๆ นับแต่องค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระ พุทธองค์แสน พระอุโบสถ พระวิหาร หอจำศีล ( สิมหลังเล็ก) 90 ไตร ฯลฯ ในที่นี้ขอ อธิบายเฉพาะตัวสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเท่านั้น
 พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสี่ เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ มีซุ้มประตู 4 ด้าน คือ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ลักษณะประตูเป็นประตู ปิด - เปิด ได้แต่เปิดไม่ได้มากเพราะติด องค์สถูปภายใน ซึ่งเจดีย์องค์ใหม่สร้างครอบไว้ ส่วนด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้าสถูปภายใน วิหาร
 ทรวดทรงของพระธาตุเชิงชุม เป็นทรงเจดีย์ สี่เหลี่ยมลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอดเป็น ช่วง ๆ 3 ช่วง จึงถึงเต้าระฆัง และรับด้วย ดวงปลีที่ทำเป็นทรงบัวเหลี่ยมปักยอดฉัตร ทองคำ ลักษณะการลดชั้นเจดีย์รับด้วยดวงปลี ทรงบัวเหลี่ยม ทำให้องค์พระธาตุเชิงชุมมี ความสวยงามกระทัดรัดไม่เทอะทะ เช่น เจดีย์ทรง ฐานกว้างเตี้ย นอกจากนี้สถาปนิกยังสร้างให้ซุ้ม ประตู 3 ด้าน เพื่อให้ประชาชนเห็นองค์พระธาตุ (สถูป) เดิมภายใน ต่อมาได้มีการ นำพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อิทธิพลล้านช้าง มาติดไว้ในซุ้มทั้ง 3 ด้าน นับว่าเป็น ส่วนประกอบองค์สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประติมากรรม แบบล้านช้างที่แท้จริง
 องค์ประกอบสำคัญขององค์พระธาตุเชิงชุมคือ ซุ้มประตูโขงทรงหอแก้วดอ เป็นลักษณะหอแก้วเฟื่อง คือ มีขนาดพองาม และ ในพื้นที่ครึ่งหนึ่งของปริมณฑล ทำให้พื้นที่ บริเวณฐานเจดีย์องค์พระธาตุสวยงาม ในส่วนราย ละเอียดของซุ้มประตูนั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่าง ชั้นครู โดยเฉพาะลายของก้นหอยซึ่งทำขนาด ใหญ่น้อยเรียงกันไป เพียงแต่มีปูนขาวทาบ ทับนนหนาปิดบังความคมชัดของลายก้นหอย อันวิจิตรบรรจง


ที่มา http://place.thai-tour.com/sakonnakhon/mueangsakonnakhon

พระธาตุท่าอุเทน

พระธาตุท่าอุเทน

                   

ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุอุเทน อำเภอ ท่าอุเทน สร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๕ โดยหลวงปู่สีทัตถ์ สุวณฺณมาโจ เป็นผู้นำในการก่อสร้าง เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม จำลองมาจาก พระธาตุพนม แต่มีขนาดเล็กและสูงกว่าพระธาตุพนม ภายในบรรจุดพระพุทธสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจาก เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า รวมทั้งพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบรรจุถวายเอาไว้
เชื่อกันว่าผู้ที่เกิดวันนี้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักอิสระ รักสวยรักงาม อารมณ์ดี แจ่มใสร่าเริง เกิดเป็นชายจะชอบปรุงแต่ง หญิงจะขี้บ่น อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย พระธาตุองค์นี้มีสิ่งที่ตรงกับ เทพประจำวันศุกร์ คือพระธาตุหันไปทางทิศเหนือของพระธาตุพนม ตรงกับทิศประจำของพระศุกร์ ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้จะ ได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์ เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ 



ที่มา https://th.wikipedia.org

พระธาตุเรณู

พระธาตุเรณ
       


 พระธาตุเรณู  ตั้งอยู่ที่วัดธาตุเรณู  ตำบลเรณู  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม  วัดธาตุเรณูเดิมชื่อวัดกลาง  เพราะสร้างขึ้นตรงกลางเมือง  มีพื้นที่ประมาณ ๑๖ ไร่เศษ  เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง  แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน  เล่ากันมาว่าเจ้าผู้ปกครองเมืองคนแรกพร้อมด้วยอุปฮาดกรมการเมือง  และราษฎรร่วมกันสร้างขึ้น  แต่โบราณกาลมาถือว่าวัดกลางเป็นวัดสำคัญของเมือง  เป็นวัดสำหรับกระทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามประเพณีด้วย  ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดกลางมาเป็นวัดธาตุเรณูตามพระธาตุเรณู  ดังที่เรียกกันอยู่ในปัจจุบันนี้
        พระธาตุเรณูสร้างด้วยอิฐถือปูน  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดในปัจจุบัน  มีการก่อสร้างถึง ๒ ครั้ง  ครั้งแรกแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๑  ยังไม่ทันจะทำการฉลองสมโภชก็ถูกฟ้าผ่าพังทลายจนหมดสิ้นเป็นที่เศร้าเสียใจ กันทั่ว  ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสจึงประชุมเห็นพร้อมกันว่าต้องทำการก่อสร้างพระ ธาตุนี้ขึ้นอีกให้ได้  โดยก่ออิฐให้หนาขึ้น  ทำการก่อสร้างอยู่ราวปีกว่าก็สำเร็จเรียบร้อย  จึงได้จัดงานฉลองสมโภชในปี พ.ศ.๒๔๖๓ 
        รูปแบบของพระธาตุเรณูได้จำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม (องค์ก่อนกรมศิลปากรบูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓) แต่มีขนาดเล็กกว่า  สูงประมาณ ๓๕ เมตร  ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๘.๓๗ เมตร  เรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมสูง  เรือนธาตุชั้นแรกและชั้นที่ ๒ ประดับด้วยซุ้มประตูหลอกและลวดลายปูนปั้นทั้ง ๔ ด้าน  ถัดขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆังทำทรงบัวเหลี่ยมประดับด้วยลายดอกจอกปูนปั้น  ถัดขึ้นไปจึงเป็นส่วนของยอดซึ่งประดับด้วยฉัตรอยู่ด้านบนสุด  ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระไตรปิฎก  พระพุทธรูปทองคำ  พระพุทธรูปเงิน  รวมทั้งของมีค่าที่เจ้าเมืองและประชาชนมีศรัทธาบริจาค
        นอกจากนั้น  ภายในวัดธาตุเรณูยังเป็นที่ประดิษฐานของ “พระองค์แสน” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนเคารพนับถือมาก  พระองค์แสนมีน้ำหนักถึง ๑๐ หมื่น  ตามมาตราชั่งที่นิยมใช้กันในท้องถิ่น  คือ ๑ หมื่น เท่ากับ ๑๒ กิโลกรัม  ๑๐ หมื่นจึงเท่ากับ ๑๒๐ กิโลกรัม  แต่การนับในปัจจุบัน ๑๐ หมื่นเป็น ๑ แสน  เพราะเหตุนี้จึงเรียกชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระองค์แสน” หรือ “หลวงพ่อองค์แสน” ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง  หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร  สูง ๕๐ เซนติเมตร  ปางสมาธิ  พระพักตร์เป็นแบบลาว  ขมวดพระเกศาเล็ก  พระรัศมีเป็นเปลว  อายุประมาณ ๑๐๐ ปีขึ้นไป  พระสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันหล่อพระองค์แสนขึ้นเพื่อจะให้เป็นพระพุทธรูปที่ ศักดิ์สิทธิ์  ขจัดภัยพิบัติข้าศึกศัตรูหมู่อมิตร  เป็นนิมิตรหมายถึงความอุดมสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนที่เคารพนับถือ  ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ให้ได้ทำไร่ทำนากันทั่วไป  และเมื่อถึงวันสงกรานต์ของทุก ๆ ปี จะมีพิธีอัญเชิญพระองค์แสนแห่ไปรอบเมือง  เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำด้วย


ที่มา 
http://www.finearts.go.th

พระธาตุศรีสองรัก


พระธาตุศรีสองรัก





ตั้งงอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กม. หรือห่างจากตัวจังหวัด 83 กม. ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 แล้วแยกขวาตรงกม.ที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กม. จากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กม. พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงสัณฐาน คล้ายพระธาตุพนม  มีงานนมัสการใหญ่โตทุกปีในช่วงเดือน 6 มีประชาชนเคารพนับถือมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะธิเบตด้วย
สร้างเมื่อ  ..2103  แล้วเสร็จเมื่อ พ.. 2106 ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นสักขีพยานแสดงความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างกัน กับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต  (เวียงจันทร์)ประวัติความเป็นมาของพระธาตุศรีสองรักพระธาตุศรีสองรัก  เป็นเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีฐานเป็นเหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละประมาณ  8 เมตร  สูงประมาณ 32  เมตร  อยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตกประมาณ  1กิโลเมตรและอยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตก ประมาณ  83  กิโลเมตร  องค์พระเจดีย์ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุศรีสองรักบนเนินริมน้ำหมัน  ซึ่งเป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษุพำนักอยู่ในวัดนอกจากองค์พระเจดีย์แล้ว  ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีโบสถ์  1  หลัง  ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปนาคปรก  1  องค์  และพระพุทธรูปอื่น ๆ อีกบ้าง  และถัดองค์พระเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกมีศิลาจารึก  1  แผ่น  ซึ่งจารึกตำนานการสร้างพระธาตุศรีสองรักด้วยอักษรธรรมอยู่ด้วย



 ที่มา http://place.thai-tour.com/loei/dansai/271

พระธาตุนาดูน


 พระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม



          บริเวณที่ตั้งขององค์พระธาตุนาดูน แต่เดิมเป็นที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรหมู่บ้านนาดูน อันเป็นที่ตั้งเดิมของเมืองโบราณนครจำปาศรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีการขุดพบสถูบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวสารหักสีขาวขุ่น คล้ายแก้วมุกดา ซึ่งบรรจุในผอบซ้อนกันสามชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน และชั้นนอกเป็นสำริด รวมถึงพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก เมื่อกรมศิลปากรมาสำรวจพบว่า บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ นครจัมปาศรี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-15
          ต่อมาจึงได้สร้างองค์พระธาตุนาดูนขึ้นในบริเวณที่ขุดพบสถูป องค์พระธาตุมีความสูง 50.50 เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2530 เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อสิริมงคลแก่ภูมิภาค พื้นที่โดยรอบได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางส่งเสิรมกิจการพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกขานว่าเป็น พุทธมณฑลอีสานรอบองค์พระธาตุมีบริเวณกว้างขวาง จัดแต่งเป็นสวนรุกขชาติ ปลูกต้นไม้ในพุทธประวัติ นับเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาคู่บ้านคู่เมืองของชาวมหาสารคาม
          รูปลักษณะพระธาตุนาดูน จำลองแบบจากสถูปสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานประยุกต์แบบศิลปทวาราวดี ฐานกว้าง 35.70 * 35.70 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอด 50.50 เมตร ฐานรากและโครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งหมด ผนังภายนอกพระธาตุส่วนใหญ่ทำด้วยหินล้างเบอร์ 4 บางแห่งฉาบปูนเรียบสีขาว มีลวดลายลวดบัว เสาบัวต่าง ๆ จำลองแบบ พระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ ที่ขุดพบมาประดิษฐานพระธาตุจำนวน 32 รูป และมีมารแบกปั้นเป็นแบบนูนสูงประดับที่ฐาน จำนวน 40 ตัว ตัวองค์พระธาตุจะแบ่งออกเป็น 16 ชั้น ลักษณะการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ภายในโปร่ง จากฐานรากขึ้นไปชั้นที่ 1 สูง 3.7 เมตร
          ชั้นที่ 1 คือฐานรากมีจำนวนฐานททั้งหมด 105 ฐาน มีเสาขึ้นจากฐานทั้งหมด 144 ต้น ส่วนฐานที่เป็นองค์พระธาตุมีลักษณะกลม มีเสาทั้งหมด 16 ต้น ชั้นที่ 1 มีพื้นทางเดินโดยรอบ และมีซุ้มประตูลายปูนปั้น 4 ประตูประจำทิศ ผนังประดับด้วยกระเบื้องด่านเกวียนศิลปะของ ภาคอีสาน พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง
          ชั้นที่ 2 สูงจากชั้นที่หนึ่ง 5.00 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 86 ต้น มีพื้นที่โดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเหนือ ทั้ง 4 และพระพุทธรูปประจำซุ้ม 4 องค์ ผนังประกอบด้วยปูนปั้นเป็นรูปเสามีบัวเหนือเสา พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไป ทำด้วยหินล้างและประดับกระเบื้องด่านเกวียน
         
ชั้นที่ 3 สูงจากชั้นที่สอง 4.80 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 44 ต้น มีพื้นโดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียง 4 องค์ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 พื้นปูด้วยกระเบื้อง เซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง
          ชั้นที่ 4 สูงจากชั้นที่สาม 1.60 เมตร ประกอบด้วยฐาน 8 เหลี่ยม เป็นชั้นเริ่มต้นของ ตัวองค์พระธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 24 ต้น ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 5 สูงจากชั้นที่สาม 1.00 เมตร ประกอบด้วยฐานบัวกลม โครงสร้างประกอบ ด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น ผิวภายนอกทำด้วยหินล้าง
          ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 10มีความสูง 11.00 เมตรเป็นตัวองค์ระฆังของพระธาตุโดยเฉพาะชั้นที่ 8 จะเป็นชั้นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น จนถึงชั้นที่ 9 ชั้นที่ 10 ลดเหลือเสา 9 ต้น ลักษณะองค์ระฆังภายนอกทำด้วยหินล้างทั้งหมด เป็นชั้นบัลลังก์ ลักษณะโครงสร้างมีเสาทั้งหมด 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้าง
          ชั้นที่ 11 ถึงชั้นที่ 14 มีความสูง 4.60 เมตร เป็นชั้นบัลลังก์ประกอบด้วยลักษณะทรงกลมมีลายปูนปั้นเป็นกลีบบัว โครงสร้างประกอบด้วยเสา 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้างทั้งหมด
ชั้นที่14 ถึงชั้นที่ 16 มีความสูง 6.80 เมตร เป็นชั้นปล้องไฉน มีทั้งหมด 6 ปล้อง โครงสร้างประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ปล้องไฉนทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 16 ถึงยอดคือปลียอด มีชั้นปลี ชั้นลูกแก้ว และะชั้นฉัตรยอด โครงสร้าง ประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ผนังผิวทำด้วย หินล้างโดยรอบ ส่วนฉัตรยอดบุด้วยโมเสกแก้วสีทอง

คำนมัสการพระธาตุนาดูน : อะติเตกิระ จำปาศรีนะคะเร สัมมาสัมพุทธะ สารีริกธาตุ นาตุละมัง นะคะระฐาเนวะ มหาสาระคามัง นะคะระสีมัง ปัจจุปันนัญจะ สิระสานะมามิ (สิระสานะมามะ)

ที่มา http://www.oceansmile.com/E/Mahasarakam/PhatadNadun.htm

พระธาตุยาคู

พระธาตุยาคู

ประวัติความเป็นมา

 พระธาตุยาคู  พระธาตุยาคู หรือ พระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบ ๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน
จากการตรวจสอบหลักฐานสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยทวารวดี ต่อมาคงปรักหักพังไปตามกาลเวลาและเพราะขาดการดูแลเอาใจใส่ ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงสร้างเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ก่ออิฐถือปูนซ้อนทับฐานเดิมและในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คงมีการสร้างต่อเติมส่วนยอดให้สูงขึ้นอีก จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๒๒ กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์องค์นี้ รวมทั้งได้จดทะเบียนเป็นโบราณสถาน พระธาตุยาคูนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็นเจดีย์ที่บรรจุอัฐิของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ จึงจัดให้มีเทศกาลบูชาพระธาตุประจำปี ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เพื่อขอฝนและความสงบร่มเย็นแก่หมู่บ้าน ลักษณะทั่วไป เป็นพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณเมืองฟ้าแดดสงยาง ก่อด้วยอิฐดินเป็นเจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๒ มีขนาดฐานกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สร้างซ้อนกันในลักษณะเป็นจัตุรมุข มีบันไดทางขึ้น ๔ ทิศ ความสูงวัดจากฐานถึงยอดสูง ๘ เมตร หลักฐานที่พบ เจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยม ใบเสมาหินทราย 



เส้นทางเข้าสู่พระธาตุยาคู
จากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปตามเส้นทางหลวงสาย ๒๑๔ (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร หรือจากตัวอำเภอกมลาไสยไปตามถนนหน้าโรงเรียนกมลาไสยระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร ถึงแยกบ้านเสมา เลี้ยวขวาเข้าถนนลูกรัง ๕๐๐ เมตร

ทีมา http://www.nmt.or.th/kalasin/nongpaen/DocLib12/Forms/AllItems.aspx