วัฒถุประสงค์ของบล็อกนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดลองสร้างบล็อกเกอร์ ของนิสิตเอกสังคมชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

พระธาตุยาคู

พระธาตุยาคู

ประวัติความเป็นมา

 พระธาตุยาคู  พระธาตุยาคู หรือ พระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบ ๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน
จากการตรวจสอบหลักฐานสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยทวารวดี ต่อมาคงปรักหักพังไปตามกาลเวลาและเพราะขาดการดูแลเอาใจใส่ ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงสร้างเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ก่ออิฐถือปูนซ้อนทับฐานเดิมและในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คงมีการสร้างต่อเติมส่วนยอดให้สูงขึ้นอีก จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๒๒ กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์องค์นี้ รวมทั้งได้จดทะเบียนเป็นโบราณสถาน พระธาตุยาคูนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็นเจดีย์ที่บรรจุอัฐิของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ จึงจัดให้มีเทศกาลบูชาพระธาตุประจำปี ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เพื่อขอฝนและความสงบร่มเย็นแก่หมู่บ้าน ลักษณะทั่วไป เป็นพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณเมืองฟ้าแดดสงยาง ก่อด้วยอิฐดินเป็นเจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๒ มีขนาดฐานกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สร้างซ้อนกันในลักษณะเป็นจัตุรมุข มีบันไดทางขึ้น ๔ ทิศ ความสูงวัดจากฐานถึงยอดสูง ๘ เมตร หลักฐานที่พบ เจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยม ใบเสมาหินทราย 



เส้นทางเข้าสู่พระธาตุยาคู
จากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปตามเส้นทางหลวงสาย ๒๑๔ (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร หรือจากตัวอำเภอกมลาไสยไปตามถนนหน้าโรงเรียนกมลาไสยระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร ถึงแยกบ้านเสมา เลี้ยวขวาเข้าถนนลูกรัง ๕๐๐ เมตร

ทีมา http://www.nmt.or.th/kalasin/nongpaen/DocLib12/Forms/AllItems.aspx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น