วัฒถุประสงค์ของบล็อกนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดลองสร้างบล็อกเกอร์ ของนิสิตเอกสังคมชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ

ตำนานอุรังคธาตุ


          ตำนานอุรังคธาตุ หรือ ตำนานอุรังคนิทาน เป็นแม่บทของวรรณกรรมตำนานพระธาตุและพระบาทในล้านช้างและแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฟากฝั่ง เป็นการเดินทางของพระพุทธองค์เมื่อครั้งที่เสด็จยังชมพูทวีป เพื่อมาประทับรอยพระบาทไว้หลายแห่งในดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง โดยมีพุทธพยากรณ์ว่าสั่งให้ พระมหากัสสป เถระอัครสาวก กับเจ้านครรัฐ 5 พระองค์ รวมกันสร้างพระธาตุ อัญเชิญอุรังคธาตุพระพุทธเจ้ามาบรรจุ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณ 
           อีกทั้งยังพบว่ามีการอ้างอิงในเรื่องราวของตำนานเรื่องนี้อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน เช่น ตำนานพระธาตุพนม ตำนานพระธาตุพังพวน ตำนานพระธาตุภูเพ็ก ตำนานพระธาตุนารายณ์เจงเวง ตำนานพระธาตุเชิงชุม ตำนานพระธาตุตุมไก่ ตำนานพระธาตุเขี้ยวฝาง  ตำนานพระธาตุเรณูนคร ตำนานพระธาตุเขาหลวง  ตำนานพระธาตุขามแก่น ตำนานพระพุทธบาทบัวบก ตำนานพระพุทธบาทบัวบาน ตำนานพระพุทธบาทคูภูเวียง ตำนานพระพุทธบาทภูควายเงิน ตำนานพระพุทธบาทเวินปลา ฯลฯ 
          ตำนานอุรังคธาตุ ถือเป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องมาจากทางฝ่ายล้านนา ซึ่งเป็นตำนานที่เล่าถึงการสรงสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในภาคอีสาน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21 จากความสัมพันธ์ทั้งทางประวัติศาสตร์ ศาสนา เครือญาติ ชาติพันธุ์ การเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ ประการสำคัญคือการศาสนาในช่วงรัชสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ.2038 - 2068 ที่พุทธศาสนาถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองสูงสุด จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา พ.ศ. 2091-2115 ซึ่งเป็นผู้ที่สืบสายเชื้อวงศ์จากทั้งระหว่างเมืองเชียงใหม่และหลวงพระบางในเวลานั้น โดยได้เป็นบุคคลสำคัญที่นำพามาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักร ที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ล้านนาและล้านช้าง
           สรุปง่าย ๆ คือ ตำนานอุรังคธาตุ บรรยายถึงการก่อสร้างพระธาตุโดยเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แบ่งหน้าที่กับก่อสร้างและทางบริจาคทรัพย์สินสิ่งของเป็นพุทธบูชา ได้ประโยชน์ในการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ในยุคนี้เป็นอย่างดีว่ามีเครื่องมือ เครื่องใช้ มีค่านิยมศิลปวัตถุประเภทใดบ้าง  ตำนานอุรังคธาตุ ให้ภาพความสัมพันธ์ของผู้นำจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 5 เมือง ซึ่งสองเมืองฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็คือ เมืองหนองหานน้อย กับ เมืองหนองหานหลวง เป็นพื้นที่บริเวณอุดรธานีและสกลนคร ส่วนอีกสามเมืองนั้นประกอบด้วย เมืองแกวสิบสองจุไท ในดินแดนเวียดนาม เมืองศรีโคตรบูร หรือ มรุกขนคร ในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และ เมืองอินทปัต ในดินแดนเขมร โดยล้วนแสดงถึงการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เหนือดินแดนพุทธศาสนา 

   


พระธาตุเชิงชุม

พระธาตุเชิงชุม


           วัดพระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ริมหนองหารในเขต เทศบาลสกลนคร มีพื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา อยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มี อาณาเขตดังนี้
 ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับหนองหารหลวงและบ้านเรือนชาวคุ้มทิศ ตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับ ถนนเจริญเมือง

 ประวัติความเป็นมา
          ตามอุรังค นิทาน กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรี อาริยเมตตรัย องค์ที่ 5 ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเห ตะนี้จึงถือกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุม จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาระ พระะ นางนารายณ์เจงเวง และเจ้าคำแดง อนุชาพระยา สิวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี จากบริเวณซ่งน้ำพุและท่านางอายฝั่งตรงข้าม หนองหาร เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระทำของ พญานาค
 อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐานแท่านบูชารูปเคารพ ตลอดยนศิลาจารึกตัว อักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งอยู่ ติดผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นใน) ซึ่งก่อเป็นพระธานุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณ วัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึกที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง 49 ซ.ม. ยาว 52 ซ.ม. เขียน เป็นตัวอักษรขอมโบราณ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำนวน หนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่โขลญพล หัว หน้าหมู่บ้าน พระนุรพิเนาตามคำแนะนำ ของกำแสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะ นุรนิเนามอบให้โบลูญพลนี้มี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้น กับหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา นอกจาก เรื่องการมอบที่ดินแล้ว ข้อความตอนท้ายของ จารึกได้กล่าวถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้ อุทิศตน สิ่งของที่นา แด่เทวสถานและสงกรานต์ 

  ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุเชิงชุม
          วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร มีโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญ ๆ นับแต่องค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระ พุทธองค์แสน พระอุโบสถ พระวิหาร หอจำศีล ( สิมหลังเล็ก) 90 ไตร ฯลฯ ในที่นี้ขอ อธิบายเฉพาะตัวสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเท่านั้น
 พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสี่ เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ มีซุ้มประตู 4 ด้าน คือ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ลักษณะประตูเป็นประตู ปิด - เปิด ได้แต่เปิดไม่ได้มากเพราะติด องค์สถูปภายใน ซึ่งเจดีย์องค์ใหม่สร้างครอบไว้ ส่วนด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้าสถูปภายใน วิหาร
 ทรวดทรงของพระธาตุเชิงชุม เป็นทรงเจดีย์ สี่เหลี่ยมลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอดเป็น ช่วง ๆ 3 ช่วง จึงถึงเต้าระฆัง และรับด้วย ดวงปลีที่ทำเป็นทรงบัวเหลี่ยมปักยอดฉัตร ทองคำ ลักษณะการลดชั้นเจดีย์รับด้วยดวงปลี ทรงบัวเหลี่ยม ทำให้องค์พระธาตุเชิงชุมมี ความสวยงามกระทัดรัดไม่เทอะทะ เช่น เจดีย์ทรง ฐานกว้างเตี้ย นอกจากนี้สถาปนิกยังสร้างให้ซุ้ม ประตู 3 ด้าน เพื่อให้ประชาชนเห็นองค์พระธาตุ (สถูป) เดิมภายใน ต่อมาได้มีการ นำพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อิทธิพลล้านช้าง มาติดไว้ในซุ้มทั้ง 3 ด้าน นับว่าเป็น ส่วนประกอบองค์สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประติมากรรม แบบล้านช้างที่แท้จริง
 องค์ประกอบสำคัญขององค์พระธาตุเชิงชุมคือ ซุ้มประตูโขงทรงหอแก้วดอ เป็นลักษณะหอแก้วเฟื่อง คือ มีขนาดพองาม และ ในพื้นที่ครึ่งหนึ่งของปริมณฑล ทำให้พื้นที่ บริเวณฐานเจดีย์องค์พระธาตุสวยงาม ในส่วนราย ละเอียดของซุ้มประตูนั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่าง ชั้นครู โดยเฉพาะลายของก้นหอยซึ่งทำขนาด ใหญ่น้อยเรียงกันไป เพียงแต่มีปูนขาวทาบ ทับนนหนาปิดบังความคมชัดของลายก้นหอย อันวิจิตรบรรจง


ที่มา http://place.thai-tour.com/sakonnakhon/mueangsakonnakhon

พระธาตุท่าอุเทน

พระธาตุท่าอุเทน

                   

ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุอุเทน อำเภอ ท่าอุเทน สร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๕ โดยหลวงปู่สีทัตถ์ สุวณฺณมาโจ เป็นผู้นำในการก่อสร้าง เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม จำลองมาจาก พระธาตุพนม แต่มีขนาดเล็กและสูงกว่าพระธาตุพนม ภายในบรรจุดพระพุทธสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจาก เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า รวมทั้งพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบรรจุถวายเอาไว้
เชื่อกันว่าผู้ที่เกิดวันนี้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักอิสระ รักสวยรักงาม อารมณ์ดี แจ่มใสร่าเริง เกิดเป็นชายจะชอบปรุงแต่ง หญิงจะขี้บ่น อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย พระธาตุองค์นี้มีสิ่งที่ตรงกับ เทพประจำวันศุกร์ คือพระธาตุหันไปทางทิศเหนือของพระธาตุพนม ตรงกับทิศประจำของพระศุกร์ ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้จะ ได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์ เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ 



ที่มา https://th.wikipedia.org

พระธาตุเรณู

พระธาตุเรณ
       


 พระธาตุเรณู  ตั้งอยู่ที่วัดธาตุเรณู  ตำบลเรณู  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม  วัดธาตุเรณูเดิมชื่อวัดกลาง  เพราะสร้างขึ้นตรงกลางเมือง  มีพื้นที่ประมาณ ๑๖ ไร่เศษ  เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง  แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน  เล่ากันมาว่าเจ้าผู้ปกครองเมืองคนแรกพร้อมด้วยอุปฮาดกรมการเมือง  และราษฎรร่วมกันสร้างขึ้น  แต่โบราณกาลมาถือว่าวัดกลางเป็นวัดสำคัญของเมือง  เป็นวัดสำหรับกระทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามประเพณีด้วย  ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดกลางมาเป็นวัดธาตุเรณูตามพระธาตุเรณู  ดังที่เรียกกันอยู่ในปัจจุบันนี้
        พระธาตุเรณูสร้างด้วยอิฐถือปูน  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดในปัจจุบัน  มีการก่อสร้างถึง ๒ ครั้ง  ครั้งแรกแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๑  ยังไม่ทันจะทำการฉลองสมโภชก็ถูกฟ้าผ่าพังทลายจนหมดสิ้นเป็นที่เศร้าเสียใจ กันทั่ว  ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสจึงประชุมเห็นพร้อมกันว่าต้องทำการก่อสร้างพระ ธาตุนี้ขึ้นอีกให้ได้  โดยก่ออิฐให้หนาขึ้น  ทำการก่อสร้างอยู่ราวปีกว่าก็สำเร็จเรียบร้อย  จึงได้จัดงานฉลองสมโภชในปี พ.ศ.๒๔๖๓ 
        รูปแบบของพระธาตุเรณูได้จำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม (องค์ก่อนกรมศิลปากรบูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓) แต่มีขนาดเล็กกว่า  สูงประมาณ ๓๕ เมตร  ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๘.๓๗ เมตร  เรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมสูง  เรือนธาตุชั้นแรกและชั้นที่ ๒ ประดับด้วยซุ้มประตูหลอกและลวดลายปูนปั้นทั้ง ๔ ด้าน  ถัดขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆังทำทรงบัวเหลี่ยมประดับด้วยลายดอกจอกปูนปั้น  ถัดขึ้นไปจึงเป็นส่วนของยอดซึ่งประดับด้วยฉัตรอยู่ด้านบนสุด  ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระไตรปิฎก  พระพุทธรูปทองคำ  พระพุทธรูปเงิน  รวมทั้งของมีค่าที่เจ้าเมืองและประชาชนมีศรัทธาบริจาค
        นอกจากนั้น  ภายในวัดธาตุเรณูยังเป็นที่ประดิษฐานของ “พระองค์แสน” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนเคารพนับถือมาก  พระองค์แสนมีน้ำหนักถึง ๑๐ หมื่น  ตามมาตราชั่งที่นิยมใช้กันในท้องถิ่น  คือ ๑ หมื่น เท่ากับ ๑๒ กิโลกรัม  ๑๐ หมื่นจึงเท่ากับ ๑๒๐ กิโลกรัม  แต่การนับในปัจจุบัน ๑๐ หมื่นเป็น ๑ แสน  เพราะเหตุนี้จึงเรียกชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระองค์แสน” หรือ “หลวงพ่อองค์แสน” ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง  หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร  สูง ๕๐ เซนติเมตร  ปางสมาธิ  พระพักตร์เป็นแบบลาว  ขมวดพระเกศาเล็ก  พระรัศมีเป็นเปลว  อายุประมาณ ๑๐๐ ปีขึ้นไป  พระสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันหล่อพระองค์แสนขึ้นเพื่อจะให้เป็นพระพุทธรูปที่ ศักดิ์สิทธิ์  ขจัดภัยพิบัติข้าศึกศัตรูหมู่อมิตร  เป็นนิมิตรหมายถึงความอุดมสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนที่เคารพนับถือ  ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ให้ได้ทำไร่ทำนากันทั่วไป  และเมื่อถึงวันสงกรานต์ของทุก ๆ ปี จะมีพิธีอัญเชิญพระองค์แสนแห่ไปรอบเมือง  เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำด้วย


ที่มา 
http://www.finearts.go.th

พระธาตุศรีสองรัก


พระธาตุศรีสองรัก





ตั้งงอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กม. หรือห่างจากตัวจังหวัด 83 กม. ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 แล้วแยกขวาตรงกม.ที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กม. จากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กม. พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงสัณฐาน คล้ายพระธาตุพนม  มีงานนมัสการใหญ่โตทุกปีในช่วงเดือน 6 มีประชาชนเคารพนับถือมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะธิเบตด้วย
สร้างเมื่อ  ..2103  แล้วเสร็จเมื่อ พ.. 2106 ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นสักขีพยานแสดงความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างกัน กับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต  (เวียงจันทร์)ประวัติความเป็นมาของพระธาตุศรีสองรักพระธาตุศรีสองรัก  เป็นเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีฐานเป็นเหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละประมาณ  8 เมตร  สูงประมาณ 32  เมตร  อยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตกประมาณ  1กิโลเมตรและอยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตก ประมาณ  83  กิโลเมตร  องค์พระเจดีย์ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุศรีสองรักบนเนินริมน้ำหมัน  ซึ่งเป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษุพำนักอยู่ในวัดนอกจากองค์พระเจดีย์แล้ว  ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีโบสถ์  1  หลัง  ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปนาคปรก  1  องค์  และพระพุทธรูปอื่น ๆ อีกบ้าง  และถัดองค์พระเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกมีศิลาจารึก  1  แผ่น  ซึ่งจารึกตำนานการสร้างพระธาตุศรีสองรักด้วยอักษรธรรมอยู่ด้วย



 ที่มา http://place.thai-tour.com/loei/dansai/271

พระธาตุนาดูน


 พระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม



          บริเวณที่ตั้งขององค์พระธาตุนาดูน แต่เดิมเป็นที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรหมู่บ้านนาดูน อันเป็นที่ตั้งเดิมของเมืองโบราณนครจำปาศรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีการขุดพบสถูบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวสารหักสีขาวขุ่น คล้ายแก้วมุกดา ซึ่งบรรจุในผอบซ้อนกันสามชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน และชั้นนอกเป็นสำริด รวมถึงพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก เมื่อกรมศิลปากรมาสำรวจพบว่า บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ นครจัมปาศรี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-15
          ต่อมาจึงได้สร้างองค์พระธาตุนาดูนขึ้นในบริเวณที่ขุดพบสถูป องค์พระธาตุมีความสูง 50.50 เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2530 เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อสิริมงคลแก่ภูมิภาค พื้นที่โดยรอบได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางส่งเสิรมกิจการพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกขานว่าเป็น พุทธมณฑลอีสานรอบองค์พระธาตุมีบริเวณกว้างขวาง จัดแต่งเป็นสวนรุกขชาติ ปลูกต้นไม้ในพุทธประวัติ นับเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาคู่บ้านคู่เมืองของชาวมหาสารคาม
          รูปลักษณะพระธาตุนาดูน จำลองแบบจากสถูปสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานประยุกต์แบบศิลปทวาราวดี ฐานกว้าง 35.70 * 35.70 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอด 50.50 เมตร ฐานรากและโครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งหมด ผนังภายนอกพระธาตุส่วนใหญ่ทำด้วยหินล้างเบอร์ 4 บางแห่งฉาบปูนเรียบสีขาว มีลวดลายลวดบัว เสาบัวต่าง ๆ จำลองแบบ พระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ ที่ขุดพบมาประดิษฐานพระธาตุจำนวน 32 รูป และมีมารแบกปั้นเป็นแบบนูนสูงประดับที่ฐาน จำนวน 40 ตัว ตัวองค์พระธาตุจะแบ่งออกเป็น 16 ชั้น ลักษณะการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ภายในโปร่ง จากฐานรากขึ้นไปชั้นที่ 1 สูง 3.7 เมตร
          ชั้นที่ 1 คือฐานรากมีจำนวนฐานททั้งหมด 105 ฐาน มีเสาขึ้นจากฐานทั้งหมด 144 ต้น ส่วนฐานที่เป็นองค์พระธาตุมีลักษณะกลม มีเสาทั้งหมด 16 ต้น ชั้นที่ 1 มีพื้นทางเดินโดยรอบ และมีซุ้มประตูลายปูนปั้น 4 ประตูประจำทิศ ผนังประดับด้วยกระเบื้องด่านเกวียนศิลปะของ ภาคอีสาน พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง
          ชั้นที่ 2 สูงจากชั้นที่หนึ่ง 5.00 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 86 ต้น มีพื้นที่โดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเหนือ ทั้ง 4 และพระพุทธรูปประจำซุ้ม 4 องค์ ผนังประกอบด้วยปูนปั้นเป็นรูปเสามีบัวเหนือเสา พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไป ทำด้วยหินล้างและประดับกระเบื้องด่านเกวียน
         
ชั้นที่ 3 สูงจากชั้นที่สอง 4.80 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 44 ต้น มีพื้นโดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียง 4 องค์ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 พื้นปูด้วยกระเบื้อง เซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง
          ชั้นที่ 4 สูงจากชั้นที่สาม 1.60 เมตร ประกอบด้วยฐาน 8 เหลี่ยม เป็นชั้นเริ่มต้นของ ตัวองค์พระธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 24 ต้น ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 5 สูงจากชั้นที่สาม 1.00 เมตร ประกอบด้วยฐานบัวกลม โครงสร้างประกอบ ด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น ผิวภายนอกทำด้วยหินล้าง
          ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 10มีความสูง 11.00 เมตรเป็นตัวองค์ระฆังของพระธาตุโดยเฉพาะชั้นที่ 8 จะเป็นชั้นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น จนถึงชั้นที่ 9 ชั้นที่ 10 ลดเหลือเสา 9 ต้น ลักษณะองค์ระฆังภายนอกทำด้วยหินล้างทั้งหมด เป็นชั้นบัลลังก์ ลักษณะโครงสร้างมีเสาทั้งหมด 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้าง
          ชั้นที่ 11 ถึงชั้นที่ 14 มีความสูง 4.60 เมตร เป็นชั้นบัลลังก์ประกอบด้วยลักษณะทรงกลมมีลายปูนปั้นเป็นกลีบบัว โครงสร้างประกอบด้วยเสา 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้างทั้งหมด
ชั้นที่14 ถึงชั้นที่ 16 มีความสูง 6.80 เมตร เป็นชั้นปล้องไฉน มีทั้งหมด 6 ปล้อง โครงสร้างประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ปล้องไฉนทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 16 ถึงยอดคือปลียอด มีชั้นปลี ชั้นลูกแก้ว และะชั้นฉัตรยอด โครงสร้าง ประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ผนังผิวทำด้วย หินล้างโดยรอบ ส่วนฉัตรยอดบุด้วยโมเสกแก้วสีทอง

คำนมัสการพระธาตุนาดูน : อะติเตกิระ จำปาศรีนะคะเร สัมมาสัมพุทธะ สารีริกธาตุ นาตุละมัง นะคะระฐาเนวะ มหาสาระคามัง นะคะระสีมัง ปัจจุปันนัญจะ สิระสานะมามิ (สิระสานะมามะ)

ที่มา http://www.oceansmile.com/E/Mahasarakam/PhatadNadun.htm

พระธาตุยาคู

พระธาตุยาคู

ประวัติความเป็นมา

 พระธาตุยาคู  พระธาตุยาคู หรือ พระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบ ๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน
จากการตรวจสอบหลักฐานสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยทวารวดี ต่อมาคงปรักหักพังไปตามกาลเวลาและเพราะขาดการดูแลเอาใจใส่ ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงสร้างเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ก่ออิฐถือปูนซ้อนทับฐานเดิมและในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คงมีการสร้างต่อเติมส่วนยอดให้สูงขึ้นอีก จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๒๒ กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์องค์นี้ รวมทั้งได้จดทะเบียนเป็นโบราณสถาน พระธาตุยาคูนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็นเจดีย์ที่บรรจุอัฐิของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ จึงจัดให้มีเทศกาลบูชาพระธาตุประจำปี ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เพื่อขอฝนและความสงบร่มเย็นแก่หมู่บ้าน ลักษณะทั่วไป เป็นพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณเมืองฟ้าแดดสงยาง ก่อด้วยอิฐดินเป็นเจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๒ มีขนาดฐานกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สร้างซ้อนกันในลักษณะเป็นจัตุรมุข มีบันไดทางขึ้น ๔ ทิศ ความสูงวัดจากฐานถึงยอดสูง ๘ เมตร หลักฐานที่พบ เจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยม ใบเสมาหินทราย 



เส้นทางเข้าสู่พระธาตุยาคู
จากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปตามเส้นทางหลวงสาย ๒๑๔ (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร หรือจากตัวอำเภอกมลาไสยไปตามถนนหน้าโรงเรียนกมลาไสยระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร ถึงแยกบ้านเสมา เลี้ยวขวาเข้าถนนลูกรัง ๕๐๐ เมตร

ทีมา http://www.nmt.or.th/kalasin/nongpaen/DocLib12/Forms/AllItems.aspx

พระธาตุขามแก่น

พระธาตุขามแก่น


          
สร้างขึ้นประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม ตามประวัติโดยย่อกล่าวว่าโมริยกษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา มีความประสงค์ที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ มาบรรจุพระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม 9 องค์นำขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่งซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำแล้วและบริเวณนี้ภูมิประเทศราบเรียบดีจึงหยุดคณะพักชั่วคราว รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปถึงภูกำพร้าปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับและตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้านเมืองของตน แต่เมื่อเดินทางผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่าแก่นมะขามที่ตายแล้วนั้นกลับยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ พร้อมกับนำพระอังคารธาตุและพระพุทธรูปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุและให้นามว่าพระธาตุขามแก่นมาจนทุกวันนี้ พระธาตุขามแก่นถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานฉลองและนมัสการพระธาตุเป็นประจำ 


วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร 


          ประวัติความเป็นมา 
   พระธาตุพนมประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุ พนม จังหวัดนครพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานานไม่น้อยกว่า ๒,๓๐๐ ปี ผู้ที่สร้าง คือ พระ มหากัสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นำพระอุรังคธาตุหรือกระดูกหน้าอก ของสมเด็จพระสัมมนาพุทธเจ้ามาเพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุผู้ที่ร่วมช่วยในการสร้างพระ ธาตุนี้คือ ท้ายพระยาเมืองต่าง ๆ พญานันทเสน เมืองศรีโคตรบูรณ์ (เมืองนครพนม เดิม) พญาจุลนีพรหมทัด พระยาอินทรปัตนคร และพญาดำแดง เมืองหนองหารน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จและบรรจุอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ ภายในเป็นจำนวนมาก
   ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น "วรมหาวิหาร" ต่อมาในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม และประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวัน ประชาชนทั้ง ประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จ สิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามาก มายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม ปัจจุบันองค์พระธาตุ มีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม
ความสำคัญต่อชุมชน
   พระธาตุพนมนี้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงประชาชนลาวด้วย ในฤดูเทศกาล เพ็ญเดือน ๓ ของทุกปี พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ มาสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม
   วัดพระธาตุพนมเป็นวัดวรมหาวิหาร พระอารามหลวง ถือเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ถึงคราวพระราชพิธีราชาภิเษกทุกรัชกาลมา จะต้องนำน้ำจากสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ไปร่วมพิธีด้วยเพื่อประกอบพิธีมุรธาภิเษก และเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือ ว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีเดิม จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานต้นไม้ ทอง เงิน น้ำอบและผ้าคลุมส่งไปนมัสการพระธาตุพนมทุกปี และเมื่อถึงเทศกาลเข้าปุ ริมพรรษา ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชาทุกปีมา
งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี ถือเอาวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ของ ทุกปีเป็นวันแรกของงานไปสิ้นสุดเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓

ลักษณะสถาปัตยกรรม 
   รูปลักษณะพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ มีลวดลายสลักลงบนแผ่นอิฐสวย งามมาก มีซุ้มกั้นด้านและซุ้มซ้อนกันสามชั้น ลดหลั่นกันลงมา แล้วจึงถึงองค์พระสถูป เบื้องบนยอดพระธาตุหุ้มทองคำประดับพลอยสวยงามมาก สมเด็จพระกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงกล่าวถึงพระธาตุพนมไว้ใน นิทานโบราณคดีเรื่องแม่น้ำโขง ตอนหนึ่งว่า
     “..พระเจดีย์ธาตุพนมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง สร้างเป็นสถูปทางพระพุทธ ศาสนาจะสร้างตามลัทธิมหายานหรือหินยาน ไม่มีที่สังเกตเหมือนอย่างที่พิมาย แต่ไม่ มีเค้าศาสนาพราหมณ์เจือปนอยู่เลย บรรดาเจดีย์สถานในพระพุทธศาสนาซึ่งสร้าง ใน สมัยของเขมรที่พบในเมืองไทย ที่สร้างสถูปเป็นประธานมีแต่พระธาตุพนมแห่งเดียว ทั้ง รูปสันฐานลวดลายก็เป็นอย่างอื่นต่างจากแบบช่างขอม ชวนให้เห็นว่าจะสร้างสมัยขอม คือ สร้างในสมัย เมื่อประเทศอันหนึ่งซึ่งเรียกในจดหมายจีนว่า ฟูนันคล้าย พนม เป็นใหญ่อยู่ต่างหาก รูปทรงพระเจดีย์ธาตุพนมเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนมณฑป มีซุ้มต้น สามซุ้มซ้อนกันเป็นสามชั้น เล็กเป็นหลั่นกันขึ้นไป แล้วถึงองค์พระสถูปอยู่เบื้องบน มณฑปทั้ง ๓ ชั้น ยอดสถูปหุ้มแผ่นทองคำ เช่นเดียวกับพระธาตุเมืองมหาธาตุเมือง นครศรีธรรมราช ขนาดพระสถูปดูจะเท่า ๆ กัน...